วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

Algorithm Pseudo Code and Flowchart

Algorithm Pseudo Code and Flowchart
(อัลกอริทึม, รหัสเทียม ซูโดโค้ด, ผังงานโฟลว์ชาร์ต)

 Algorithm อ่านว่า อัลกอริทึม หรือ ขั้นตอนวิธี คือชื่อเรียกกระบวนการหรือขั้นตอนการทำงานโดยละเอียด ที่สามารถนำไปปฏิบัติตามเพื่อแก้ปัญหาที่กำหนดไว้
เปรียบได้กับชุดคำสั่งใช้เขียนโปปรแกรมเป็นขั้นเป็นตอนที่ชัดเจน และรับประกันว่าเมื่อได้ปฏิบัติถูกต้องตามขั้นตอนจนครบก็จะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องตามต้องการและนำพาไปสู่การแก้ปัญหา 
เช่น เอามาม่าไปต้มรับประทาน
ตัวอย่างการแปลง อัลกอริทึม ต้มมาม่า
         เริ่ม
         1. หามาม่าไว้ 1 ซอง
2. ฉีกซองมาม่าและเทลงถ้วยเปล่า
3. ฉีกซองเครื่องปรุง แล้วเทลงถ้วยเดิม
4. ต้มน้ำให้ร้อนได้ที่ แล้วเทลงถ้วย
5. ปิดฝาไว้ 3 นาที
6. เปิดฝา แล้วรับประทาน
จบ
 (ต้องมีเริ่มและจบทุกครั้งเวลาเขียนอัลกอริทึม)


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

รหัสเทียม หรือซูโดโค้ด Pseudo Code
คือ แสดงขั้นตอนวิธีการที่ใช้ภาษาเขียนที่เข้าใจได้ง่าย เป็นขั้้นเป็นตอน ปิดท้ายด้วยคำว่าจบการทำงานขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้เขียนและกิจกรรมที่จะนำเสนอ มักใช้รูปแบบคล้ายประโยคเพื่ออธิบายรายละเอียดของอัลกอริทึม


ตัวอย่างการแปลง อัลกอริทึม แปลงเป็น ซูโดโค้ด: ต้มมาม่า
         1. หามาม่าไว้ 1 ซอง
2. ฉีกซองมาม่าและเทลงถ้วยเปล่า
3. ฉีกซองเครื่องปรุง แล้วเทลงถ้วยเดิม
4. ต้มน้ำให้ร้อนได้ที่ แล้วเทลงถ้วย
5. ปิดฝาไว้ 3 นาที
6. เปิดฝา แล้วรับประทาน
7. จบการทำงาน * สังเกตุว่าต้องจบด้วยคำว่า จบการทำงาน
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ผังงาน (Flowchart)
การเขียนขั้นตอนวิธีในแบบสัญลักษณ์ ช่วยให้ไม่ต้องตีความ
โดยต้องให้สัญลักษณ์ต่ไปนี้เขียนออกมา


ตัวอย่างการต้มมาม่า(อย่างง่าย)




ไม่เอาไม่ร้อง มันไม่ยากอย่างที่คิด...